กระบวนการไหลเวียนโลหิต

กระบวนการไหลเวียนโลหิต

กระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบหมุนเวียนโลหิต
         ในร่างกายมนุษย์มีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนอยู่ในเส้นเลือด การสูบโลหิตของหัวใจ ทำให้เกิดแรงดันให้เลือดไหลไปตามเส้นเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และไหลกลับคืนสู่หัวใจ โดยหัวใจของคนเราตั้งอยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างค่อนมาทางด้ายซ้ายชิดผนังทรวงอก แบ่งออกเป็น 4 ห้อง ห้องบนสองห้อง มีผนังเอเทรียม (atrium) ส่วนห้องล่างมีขนาดใหญ่และหนากว่าเรียกว่า เวนทรีเคิล (ventricle) ระหว่างห้องบนกับห้องล่างทั้งสองซีกจะมีลิ้นหัวใจคอยปิด-เปิดเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
ระบบไหลเวียนโลหิตของมนุษย์ประกอบด้วยหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโดยมีเส้นเลือดเป็นท่อลำเลียงเลือด ระบบไหลเวียนโลหิตประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ เลือด เส้นเลือด และหัวใจ
ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นระบบที่นำสารเข้าและออกจากเซลล์สามารถช่วยในการรักษาระดับอุณหภูมิ ความเป็นกรด-เบส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาดุลยภาพของร่างกาย
         การไหลเวียนโลหิตเริ่มจากการปั๊มเลือดไปตามหลอดเลือดแดงใหญ่เลือดจะไหลไปสู่เส้นเลือดแดงเล็กๆ และเลือดฝอยตามลำดับเนื้อเยื่อต่างๆจะได้รับออกซิเจนและสารอาหารต่างๆจากเลือดในขณะเดียวกันก็จะมีการแลกเปลี่ยนเอาคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียต่างๆ จากเนื้อเยื่อไปยังเลือดด้วย จากนั้นเลือดจะไหลจากเส้นเลือดฝอยไปยังเส้นเลือดดำ หลอดเลือดดำขนาดใหญ่และกลับเข้าสู้หัวใจในที่สุด

ส่วนประกอบของระบบหมุนเวียนโลหิต

     ระบบหมุนเวียนโลหิตประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ เลือด เส้นเลือด หัวใจ
1. เลือด   (blood) เป็นของเหลวชนิดหนึ่งในร่างกาย ประกอบด้วย   น้ำเลือด เกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดเเดง เซลล์เม็ดเลือดขาว ร่างกายเรามีเลือดอยู่ประมาณ 5 ลิตรหรือคิดเทียบกับน้ำหนักตัวเท่ากับร้อยละ 7-8 ของน้ำหนักตัว  
ส่วนประกออบของเลือด เมื่อนำเลือดไปปั่นเหวี่ยงเพื่อทำการแยกชั้น จะพบส่วนประกอบของเลือดต่างๆดังนี้
น้ำเลือด   ( พลาสมา)
น้ำเลือด หรือ  พลาสมา  เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่มีอยู่ร้อยละ 55 ของเลือดทั้งหมดมีสภาวะเป็นเบส ค่า ph 7.4 ประกอบด้วย   น้ำ 91% สารอื่นๆ เช่น   โปรตีน 7% วิตามิน เกลือแร่ เอ็นไซม์ ฮอร์โมน ก๊าซ 2% ( ทำหน้าที่ลำเลียงเอมไซม์ ฮอร์โมน แก๊ส แร่ธาตุ วิตามิน และสารอาหารประเภทต่างๆ ที่ผ่านการย่อยมาแล้วไปให้เซลล์และรับของเสียจากเซลล์ส่งไปกำจัดออกนอกร่างกาย)

เม็ดเลือด

เม็ดเลือดเเดง  ( มีอายุ 110-120 วัน) ถูกสร้างมาจากไขกระดูก ตับ ม้าม เม็ดเลือดเเดง(มีอายุ 7-14 วัน) โตกว่าเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวโดนทำลายโดย   เชื้อโรค   80%   ไขกระดูก  และ ม้าม ร่างกายคนมีเม็ดเลือดขาว 5000-10000 เซลล์/เลือด 1ml แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
•  ฟาโกไซต์ ( phagocyte) มีวิธีการทำลายเชื้อโรคเรียกว่า " ฟาโกไลซิส " (Phagocytosis)
•  ลิมโฟไซต์ ( lymphocyte) สร้าง " แอนติบอดี้ " (Antibody) เพื่อต่อต้านเชื้อโรค

เกล็ดเลือด

เกล็ดเลือด ไม่ใช่เชลล์ แต่เป้นชิ้นส่วนของเซลล์ รูปร่างไม่แน่นอน มีขนาดเล็ก ไม่มีนิวเคลียส มีอายุประมาณ 3-4 วัน ถูกสร้างมาจากไขกระดูก มีปริมาณประมาณ 150,000-300,000 ชิ้น/เลือด 1 ลูกบาสก์เซนติเมตร นอกจากนี้เกล็ดเลือดจะหลั่งสารเคมี (ไฟบริน) ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล
2. เส้นเลือด (Blood  Vessel)   คือท่อที่เป็นทางให้เลือดไหลเวียนในร่างกายซึ่งมี 3 ระบบ คือเส้นเลือดแดง  
เส้นเลือดดำ และเส้นเลือดฝอย เส้นเลือดในร่างกายแบ่งเป็น 2 ระบบใหญ่ๆ คือ ระบบเส้นเลือดแดง ( arteril system) และระบบเส้นเลือดดำ ( venous system)


เส้นเลือดแดง ( artery) คือ เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังอวัยวะและส่วนต่างๆ ของ ร่างกายเลือดในเส้นเลือดแดงส่วนมากเป็นเลือดดี นอกจากเส้นเลือดแดงที่ไปยังปอดที่เป็นเลือดเสียเพื่อนำไป ฟอกให้บริสุทธิ์

เส้นเลือดดำ ( vein) คือเส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจส่วนมากเป็นเลือดเสียยกเว้นเส้นเลือดที่มา จากปอดซึ่งจะเป็นเลือดบริสุทธิ์ โครงสร้างของเส้นเลือด

3. หัวใจ เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดตลอดเวลาไม่มีการหยุด เพื่อให้กระแสเลือดหมุนเวียนทั่วร่างกายต่อเนื่องกัน หัวใจมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ช่อง คือ บนซ้าย ล่างซ้าย บนขวา และล่างขวา เลือดที่อยู่ในสองช่องซ้ายจะเป็นเลือดดีที่มาจากปอด เรียกว่าเลือดแดง ส่วนเลือดในสองช่องขวาจะเป็นเลือดที่รับมาจากร่างกายเป็นเลือดที่ใช้ออกซิเจนไปจนหมดแล้ว เรียกว่า เลือดดำ หัวใจช่องล่างจะมีผนังหนาและแข็งแรง และมีขนาดใหญ่กว่าหัวใจช่องบน ระหว่างหัวใจช่องบนและล่างจะมีลิ้นหัวใจเปิดทางเดียวเพื่อให้เลือดจากช่องบนไหลลงช่องล่างได้ แต่ไหลย้อนกลับไม่ได้ กล้ามเนื้อหัวใจจะประกอบด้วยเซลล์เฉพาะ ในขณะที่กล้ามเนื้อหดตัวจะบีบเลือดในหัวใจออกจากช่องล่างโดยเลือดแดงจะกระจายไปยังอวัยวะทั่วร่างกาย แต่เลือดดำจะไหลไปยังปอด ในช่วงคลายตัวหัวใจจะขยายโตขึ้นและดูดเลือดเข้ามาโดยผ่านทางช่องบนและลงมาช่องล่าง สองช่องซ้ายจะรับเลือดแดงจากปอด ในขณะที่สองช่องขวารับเลือดดำจากเซลล์ทั่วร่างกาย และถูกสูบฉีดออกไปเป็นวัฏจักรเรื่อยๆ โดยเลือดดำที่ออกจากช่องล่างขวาของหัวใจไปปอดจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และรับออกซิเจนจากอากาศในปอดกลับกลายเป็นเลือดแดงไหลกลับเข้าสู่หัวใจด้านซ้ายเพื่อถูกสูบฉีดไปทั่วร่างกายต่อไป การบีบตัวของหัวใจทำให้แรงดันในหลอดเลือดสูงขึ้นและเมื่อคลายตัวแรงดันจะต่ำลง แรงดันนี้สามารถทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัวและหดตัวสลับกัน ทำให้สัมผัสได้ในลักษณะ การเต้นของชีพจร ซึ่งใช้เป็นการวัดความถี่ในการเต้นของหัวใจ ส่วนแรงดันที่เกิดขึ้นก็สามารถใช้เครื่องมือวัดได้ เช่นกัน เรียกว่า ความดันโลหิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น